การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุในร่างกายคน
ในร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 3
ใน 4 หรือประมาณ 75% ของน้ำหนักตัวโดยน้ำที่อยู่ในร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 3
ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ภายในเซลล์ประมาณ 60% น้ำที่อยู่นอกเซลล์ประมาณ 30%
น้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อและน้ำเลือดอีกไม่เกิน 10% ซึ่งน้ำในแต่ละส่วนจะถูกควบคุมให้มีดุลยภาพอยู่ได้
โดยจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงเพื่อทดแทนกันอยู่ตลอดเวลา
ปกติมนุษย์ต้องการน้ำประมาณวันละ
2-3 ลิตร ซึ่งได้จากการดื่มน้ำ
การบริโภคอาหารและจากกระบวนการออกซิเดชันจากสารอาหารอีกประมาณ 200 มล.
โดยร่างกายจะมีการขับน้ำออกจากร่างกายในลักษณะของปัสสาวะ อุจจาระ ลมหายใจ
และเหงื่อ ซึ่งวิธีการหลักที่ร่างกายใช้ในการขับน้ำออกจากร่างกาย คือ ทางปัสสาวะ
โดยในแต่ละวันมนุษย์จะมีการขับน้ำออกทางปัสสาวะประมาณ 500-2,300 มล.
หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 1,500 มล. อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกายมนุษย์
ได้แก่ ไต ปอด และผิวหนัง ซึ่งแต่ละ อ่านเพิ่มเติม